ReadyPlanet.com
dot dot
dot
COMPANY REGISTRATION

               

                   With extensive experience in corporate and business law, our lawyers are able to advise and provide assistance in relation to a wide range of corporate and commercial matters. Our services in this area include the following types of work:

                 -Company formation

                 -Structuring and re-structuring

                 -Company operation and administration including directors' duties

                 -Shareholding arrangements including drafting and negotiating

shareholder agreements

 

 

 

  BASIC KNOWLEDGE ABOUT PARTNERSHIP AND COMPANIES

TITLE 22

PARTNERSHIPS AND COMPANIES

CHAPTER 1

GENERAL PROVISIONS

          Section 1012.- A contract for the organization of a partnership or company is a contract whereby two or more persons agree to unite for a common undertaking, with a view of sharing the profits which may be derived therefore.

          Section 1013.- There are three kinds of partnerships or companies, that is to say:

          (1) Ordinary partnerships;

          (2) Limited partnerships;

          (3) Limited companies.

CHAPTER 2

ORDINARY PARTNERSHIPS

PART 1

Definition

          Section 1025.- The ordinary partnership is that kind of partnership in which all the partners are jointly and unlimitedly liable for all the obligations of the partnership.

 

PART 2

Relation of Partners between Themselves

          Section 1026.- Each partner must bring a  contribution to the partnership.

          Such contribution may consist of money or other properties or of services.

          Section 1034.- If it is agreed that matters relating to the business of the partnership shall be decided by a majority of partners, each partner shall have one vote, irrespective of the amount of his contribution.

 

          Section 1040.- No person may be introduced as a partner in the partnership without the consent of all the partners, unless there be an agreement providing otherwise.

 

PART 3

Relation of Partners with Third Persons

          Section 1049.- No partner can acquire any right against third persons by a transaction where his own name did not appear.

          Section 1050.- All the partners are bound by the acts done by any of them in the ordinary course of the business of the partnership and jointly and unlimitedly liable for the performance of the obligations incurred in such management.

          Section 1051.- A partner, whose membership has ceased, continues to be liable in respect of obligations incurred by the partnership before such membership ceased.

 

          Section 1052.- A person, who becomes member of a partnership, is liable for any obligations incurred by the partnership before he became a partner.

 

 

CHAPTER 3

LIMITED PARTNERSHIPS

          Section 1077.- A limited partnership is that kind of partnership in which there are:

          (1) One or more partners whose liability is limited to such amount as they may respectively undertake to contribute to the partnership, and

          (2) One or more partners who are jointly and unlimitedly liable for all the obligation of the partnership.

 

CHAPTER 4

LIMITED COMPANIES

PART 1

Nature and Formation of Limited Companies

          “Section 1096.- A limited company is that kind of which is formed with a Capital divided into equal shares, and the liability of the shareholders is limited to the amount, if any, unpaid on the shares respectively held by them.”

          “Section 1097.- Any three or more persons may, by subscribing their names to a memorandum and otherwise complying with the provisions of this Code, promote and form a limited company.”

          Section 1101.- The liability of the directors of a limited company may be unlimited. In such case, a statement to that effect must be inserted in the memorandum.

          The unlimited liability of a director terminates at the expiration of two years after the date at which he ceased to hold office.

 

PART 3

Management of Limited Companies

 

1. GENERAL PROVISIONS

          Section 1144.- Every limited company shall be managed by a director or directors under the control of the general meeting of shareholders and according to the regulations of the company.

2. DIRECTORS

          Section 1150.- The number and remuneration of the directors shall be fixed by a general meeting.

          Section 1151.- A director can be appointed or removed only by general meeting.

          Section 1167.- The relations between the directors, the company and third persons are governed by the provisions of this Code concerning Agency.

          Section 1168.- The directors must in their conduct of the business apply the diligence of a careful business man.

          In particular they are jointly responsible:

          (1) For the payment of shares by the shareholders being actually made;

          (2) For the existence and regular keeping of books and documents prescribed by law;

          (3) For the proper distribution of the dividend or interest as prescribed by law;

          (4) For the proper enforcement of the resolutions of the general meetings.

          A director must not, without the consent of a general meeting of shareholders, undertake commercial transactions of the same nature as and competing with that of the company, either on his own account or that of a third person, nor may he be a partner with unlimited liability in another commercial concern carrying on a business of the same nature as and competing with that of the company.

          The foregoing provisions shall be applied also to persons representing the directors.

          Section 1169.-Claims against the directions for compensation for injury caused by them to the company may be entered by the company or, in case of the company refuses to act, by any of the shareholders.

          Such claims may also be enforced by the creditors of the company in so far as their claims against the company remain unsatisfied.

          Section 1170.- When the acts of a director have been approved by a general meeting, such director is no longer liable for the said to the shareholders who have approved them, or to the company.

          Shareholders, who did not approve of such acts, cannot enter their action later than six months after the date of the general meeting in which such acts were approved.

5. DIVIDEND AND RESERVE

          Section 1200.- The distribution of dividend must be made in proportion to the amount paid upon each share, unless otherwise decided with regard to preference shares.

          Section 1201.- No dividend may be declared except by a resolution passes in a general meeting.

          The directors may from time to time pay to the shareholders such interim dividends as appeared to the directors to be justified by the profits of the company.

          No dividend shall be paid otherwise than out of profits. If the company has incurred losses, no dividend may be paid unless such losses have been made good.

          Section 1202.- The company must appropriate to a reserve fund, at each distribution of dividend, at least one-twentieth of the profits arising from the business of the company, until the reserve fund reaches one-tenth part of the capital of the company or such higher proportion thereof as may be stipulated in the regulations of the company.

          If shares have been issued at a value higher than the face value, the excess must be added to the reserve fund until the latter has reached the amount mentioned in the foregoing paragraph.

          Section 1203.- If divided has been paid contrary to the provisions of the last two preceding sections, the creditors of the company are entitled to have the amount so distributed returned to the company, provided that a shareholder cannot be obliged to return dividend which he has received in good faith.

          Section 1204.- Notice of any dividend that may have been declared shall be either published twice at least in a local paper or given by letter to each shareholder whose name appears on the register of shareholders.

 

          Section 1205.- No dividend can bear interest against the company.

 

 

 

                   ด้วยประสบการณ์อันกว้างขวาง ในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ทนายความของเราสามารถจะให้คำปรึกษา และให้ความช่วยเหลือในด้านธุรกิจ และการพาณิชย์ การบริการและงานประเภทต่างๆ ของเรามีดังต่อไปนี้

-   การจัดตั้งบริษัท

-   การสร้าง และการจัดการโครงสร้างใหม่

-   การปฏิบัติงานของบริษัท และการบริหารจัดการ รวมถึงหน้าที่ของกรรมการบริษัท

-   การจัดการกับหุ้นส่วน รวมถึงการร่างและการเจรจาต่อรองในการทำสัญญากับผู้ถือหุ้น

 

 

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัท

ลักษณะ 22

หุ้นส่วนและบริษัท

หมวด 1

บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

            มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น

            มาตรา 1013 อันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น ท่านกำหนดเป็นสามประเภท คือ

            (1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ

            (2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด

            (3) บริษัทจำกัด             

หมวด 2

ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ส่วนที่ 1

บทวิเคราะห์

            มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด

 

ส่วนที่ 2

ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง

            มาตรา 1026 ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงหุ้นด้วยในห้างหุ้นส่วน

            สิ่งที่นำมาลงด้วยนั้น จะเป็นเงินหรือทรัพย์สินสิ่งอื่นหรือลงแรงงานก็ได้

            มาตรา 1034 ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าการงานของห้างหุ้นส่วนนั้นจักให้เป็นไปตามเสียงข้างมากแห่งผู้เป็นหุ้นส่วนไซร้ ท่านให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นคะแนนหนึ่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ลงหุ้นด้วยมากหรือน้อย

 

            มาตรา 1040 ห้ามมิให้ชักนำเอาบุคคลผู้อื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน โดยมิได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น

 

ส่วนที่ 3

ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก

            มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใดๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่

            มาตรา 1050 การใดๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างหุ้นส่วนนั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้นๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น

            มาตรา 1051 ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งออกจากหุ้นส่วนไปแล้วยังคงต้องรับผิดในหนี้ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อขึ้นที่ตนได้ออกจากหุ้นส่วนไป

 

            มาตรา 1052 บุคคลผู้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนย่อมต้องรับผิดในหนี้ใดๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนได้ก่อขึ้นก่อนที่ตนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย

 

หมวด 3

หุ้นส่วนจำกัด

            มาตรา 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองจำพวกดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ

            (1) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งมีจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นจำพวกหนึ่ง และ

 

            (2) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวนอีกจำพวกหนึ่ง

 

หมวด 4

บริษัทจำกัด

ส่วนที่ 1

สภาพและการตั้งบริษัทจำกัด

            “มาตรา 1096 อันว่าบริษัทจำกัดนั้น คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมูลค่าเท่าๆ กันโดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ”

            “มาตรา 1097 บุคคลใดๆ ตั้งแต่สามคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้ โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้”

            มาตรา 1101 บุคคลซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำกัดจะรับผิดโดยไม่จำกัดก็ได้ ถ้ากรณีเป็นเช่นนั้นไซร้ ท่านว่าต้องจดแถลงความรับผิดเช่นนั้นลงไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิด้วย

            อันความผิดโดยไม่จำกัดของผู้เป็นกรรมการนั้น ย่อมถึงที่สุดเมื่อล่วงเวลาสองปี นับแต่วันที่ตัวเขาออกจากตำแหน่งกรรมการ

ส่วนที่ 3

วิธีจัดการบริษัทจำกัด

1) บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

            มาตรา 1144 บรรดาบริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง

2) กรรมการ

            มาตรา 1150 ผู้เป็นกรรมการจะพึงมีจำนวนมากน้อยเท่าใดและจะพึงได้บำเหน็จเท่าใด ให้สุดแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่จะกำหนด

            มาตรา 1151 อันผู้เป็นกรรมการนั้น เฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่เท่านั้นอาจจะตั้งหรือถอนได้

            มาตรา 1167 ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน

            มาตรา 1168 ในอันที่จะประกอบกิจการของบริษัทนั้นกรรมการต้องใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบการด้วยความระมัดระวัง

            ว่าโดยเฉพาะ กรรมการต้องรับผิดชอบร่วมกันในประการต่างๆ ดังจะกล่าวต่อไปนี้คือ

            (1) การใช้เงินค่าหุ้นนั้น ได้ใช้กันจริง

            (2) จัดให้มีและรักษาไว้ให้เรียบร้อย ซึ่งบรรดาสมุดบัญชีและเอกสารที่กฎหมายกำหนดไว้

            (3) การแจกเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้เป็นไปโดยถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้

            (4) บังคับการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามมติของที่ประชุมใหญ่

            อนึ่งท่านห้ามมิให้ผู้เป็นกรรมการประกอบการค้าขายใดๆ อันมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับการค้าขายของบริษัทนั้น ไม่ว่าทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น หรือไปเข้าหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างค้าขายอื่นซึ่งประกอบกิจการมีสภาพเป็นอย่างเดียวกัน และแข่งขันกับกิจการของบริษัทโดยมิได้รับความยินยอมของที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น

            บทบัญญัติที่กล่าวมาข้างบนนี้ให้ใช้บังคับตลอดถึงบุคคลซึ่งเป็นผู้แทนของกรรมการด้วย

            มาตรา 1169 ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการก็ได้ หรือในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้องผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้

            อนึ่งการเรียกร้องเช่นนี้ เจ้าหนี้ของบริษัทจะเป็นผู้เรียกบังคับก็ได้เท่าที่เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทอยู่

            มาตรา 1170 เมื่อการซึ่งกรรมการคนใดได้ทำไปได้รับอนุมัติของที่ประชุมใหญ่แล้ว ท่านว่ากรรมการคนนั้นไม่ต้องรับผิดในการนั้นต่อผู้ถือหุ้นซึ่งได้ให้อนุมัติหรือต่อบริษัทอีกต่อไป

            ท่านห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นซึ่งมิได้ให้อนุมัติด้วยนั้นฟ้องคดี เมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ประชุมใหญ่ให้อนุมัติแก่การเช่นว่านั้น

5) เงินปันผลและเงินสำรอง

            มาตรา 1200 การแจกเงินปันผลนั้น ต้องคิดตามส่วนจำนวน ซึ่งผู้ถือหุ้นได้ส่งเงินแล้วในหุ้นหนึ่งๆ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในเรื่องหุ้นบุริมสิทธิ

            มาตรา 1201 ห้ามมิให้ประกาศอนุญาตเงินปันผล นอกจากโดยมติของที่ประชุมใหญ่

            กรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งคราว ในเมื่อปรากฏแก่กรรมการว่าบริษัทมีกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้น ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ถ้าหากบริษัทขาดทุน

            ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผลจนกว่าจะได้แก้ไขให้หายขาดทุนเช่นนั้น

            มาตรา 1202 ทุกคราวที่แจกเงินปันผล บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อยหนึ่งในยี่สิบส่วนของจำนวนผลกำไรซึ่งบริษัททำมาหาได้จากกิจการของบริษัท จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึงหนึ่งในสิบของจำนวนทุนของบริษัทหรือมากกว่านั้น แล้วแต่จะได้ตกลงกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท

            ถ้าได้ออกหุ้นโดยคิดเอาราคาเกินกว่าที่ปรากฏในใบหุ้นเท่าใด จำนวนที่คิดเกินนี้ท่านให้บวกทบเข้าในทุนสำรองจนกว่าทุนสำรองจะมีจำนวนเท่าถึงที่กำหนดไว้ในวรรคก่อน

            มาตรา 1203 ถ้าจ่ายเงินปันผลไปโดยฝ่าฝืนความในมาตราทั้งสองซึ่งกล่าวมาไซร้ เจ้าหนี้ทั้งหลายของบริษัทชอบที่จะเรียกเอาเงินจำนวนซึ่งได้แจกไปคืนมายังบริษัทได้ แต่ว่าถ้าผู้ถือหุ้นคนใดได้รับเงินปันผลไปแล้วโดยสุจริต ท่านว่าจะกลับบังคับให้เขาจำคืนนั้นหาได้ไม่

            มาตรา 1204 การบอกกล่าวว่าจะปันผลอย่างใดๆ อันได้อนุญาตให้จ่ายนั้น ท่านให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่งสองครั้งเป็นอย่างน้อยหรือมิฉะนั้นให้มีจดหมายบอกกล่าวไปยังตัวผู้ถือหุ้นบรรดาปรากฏชื่ออยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นจงทุกคน

            มาตรา 1205 เงินปันผลนั้น แม้จะค้างจ่ายอยู่ ท่านว่าหาอาจจะคิดเอาดอกเบี้ยแก่บริษัทได้ไม่ 

 









Honorary Advisor
Property for Rent/Sale
Legal Consultant
Litigation
LABOUR LAW
FAMILY LAW
Last Will & Testament
Due Diligent Report
Company Registration
Visa&Work Permit


Copyright © 2010 All Rights Reserved.

S&T Legal Advisory Co.,Ltd.(Law Office in Phuket, Thailand)
79/27 Wiset Rd.Rawai Mueang Phuket 83130
Tel:  076-383-472 Mobile: 089-969-9319
e-mail : st_law2009@hotmail.com
website : http://www.st-phuket-law.com